ข้ามไปเนื้อหา

การตั้งครรภ์นอกมดลูก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ectopic pregnancy)
การตั้งครรภ์นอกมดลูก
ชื่ออื่นEP, eccyesis, extrauterine pregnancy, EUP, tubal pregnancy (ถ้าเกิดขึ้นที่เฟลลอเปียนทูบ)
ภาพลาพาโรสโคปิก ส่องเข้าไปภายในมดลูก (แสดงด้วย ลูกศรสีน้ำเงิน) ทางซ้ายปรากฏฟอลโลเปียนทูบ (Fallopian tube) ที่ซึ่งเป็นจุดเกิดการตั้วครรภ์นอกมดลูก และเกิดฮีมาโตซัลพิงซ์ (แสดงด้วย ลูกศรสีแดง) ฟอลโลเปียนทูบอีกอันปกติดี
สาขาวิชาสูตินรีเวชศาสตร์
อาการปวดท้อง, เลือดออกในช่องคลอด[1]
ปัจจัยเสี่ยงโรคเชิงกรานอักเสบ, การสูบบุหรี่, การผ่าตัดที่ทูบในอดีต, มีประวัติมีบุตรยาก, การใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์[2]
วิธีวินิจฉัยตรวจเลือดหา human chorionic gonadotropin (hCG), อัลตราซาวด์[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันแท้ง, ovarian torsion, ไส้ติ่งแตกฉับพลัน[1]
การรักษาMethotrexate, ผ่าตัด[2]
พยากรณ์โรคอัตราเสียชีวิต 0.2% (โลกพัฒนาแล้ว), 2% (โลกกำลังพัฒนา)[3]
ความชุก~1.5% ของการตั้งครรภ์ (โลกพัฒนาแล้ว)[4]

การตั้งครรภ์นอกมดลูก (อังกฤษ: Ectopic pregnancy) เป็นอาการแทรกซ้อนในการตั้วครรภ์รูปแบบหนึ่งที่ซึ่งเอมบริโอฝังตัวนอกมดลูก[4] อาการพื้นฐานประกอบด้วย ปวดท้อง และ เลือดออกในมดลูก อย่างไรก็ตามมีเพียงต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่จะพบทั้งสองอาการ[1] อาการเจ็บปวดอาจลามไปถึงบริเวณไหล่หากมีเบือดออกในช่องท้อง[1] เลือดออกรุนแรวอาจนำไปสู่อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้น, เป็นลม, หรือ อาการช็อค[4][1] โอกาสที่ทารกจะรอดนั้นต่ำมาก[5]

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้แก่ โรคอักเสบในอุ้งเชิงกราน (ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อคลาไมเดีย) การสูบบุหรี่ การมีประวัติเคยผ่าตัดท่อนำไข่ การมีบุตรยาก และการใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ ผู้ที่เคยมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นซ้ำ การตั้งครรภ์นอกมดลูกส่วนใหญ่ (90%) เกิดในท่อนำไข่ จึงเรียกว่า การตั้งครรภ์ในท่อนำไข่ (อังกฤษ: tubal pregnancy) ตำแหน่งอื่นที่อาจเกิดได้เช่น ปากมดลูก รังไข่ หรือเยื่อบุช่องท้อง การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยการตรวจระดับฮอร์โมนเอชซีจี ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวนด์ บางครั้งอาจต้องตรวจมากกว่าหนึ่งครั้ง ภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกันเช่น การแท้ง การบิดขั้วของรังไข่ และไส้ติ่งอักเสบ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Crochet2013
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Cec2014
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO2015Mort
  4. 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kirk2013
  5. Zhang J, Li F, Sheng Q (2008). "Full-term abdominal pregnancy: a case report and review of the literature". Gynecologic and Obstetric Investigation. 65 (2): 139–41. doi:10.1159/000110015. PMID 17957101. S2CID 35923100.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก